วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


         สงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์ หรือประเพณีขึ้นปีใหม่ของไทย จะมีการเล่นน้ำ และการเล่นเพลงพื้นเมือง และการแห่นางสงกรานต์

          การเล่นเพลงพื้นเมือง เพลงพื้นเมืองที่เล่นกันในชีวิตประจำวันต่อไปนี้ เป็นเพลงที่เล่นกันในเวลาเกี่ยวข้าวที่ชาวบ้านจะมารวมกันช่วยกันทำงานด้วยอัธยาศัยไมตรีตามวัฒนธรรมไทย จึงมีการเล่นสนุกสนานตามโอกาส การร้องเล่นกันนั้น ใครร้องเพลงเป็นและเสียงดี ก็จะเป็นต้นเสียง

         เพลงที่ร้องเล่นกันตอนเกี่ยวข้าวก็จะมีเพลงเกี่ยวข้าว เพลงร้อยชั่ง และเพลงเต้นกำ (รำเคียว) เป็นต้น

เพลงเกี่ยวข้าว
          เป็นเพลงโต้ตอบกันขณะเกี่ยวข้าวกลางนา ร้องไปทำงานไป  มีลูกคู่รับเป็นทอดๆ

เพลงร้อยชั่ง
          เป็นเพลงซึ่งร้องโต้ตอบกันขณะเกี่ยวข้าว โต้ตอบกันไปเรื่อยๆ มีลูกคู่รับ 
          ตัวอย่าง เพลงร้อยชั่ง "ตัวพี่รักน้องหวังจะมาขอ ทั้งแม่ทั้งพ่อเขาว่ายังเล็ก (เอื้อน) เล่นกะโหลกกะลา (ลูกคู่รับวุ้ยวุ้ย) ตามประสาเด็กเด็กเอย แม่ร้อยชั่งเอย"

เพลงเต้นกำ (รำเคียว)
          ชาวบ้านจะเล่นตอนหยุดพักหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า "ตอนตกหน้า (คันนา)" หญิงชายแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย มือขวาถือเคียว มือซ้ายถือรวงข้าว ร้องรำหยอกล้อกันเป็นที่สนุกสนาน ทั้งเนื้อร้องและท่ารำจะประสมประสานกัน (แต่ไม่ใช่แบบนาฏศิลป์) แต่ละคู่มีลูกคู่ร้องรับและให้จังหวะ กรมศิลปากรได้เคยไปรับการถ่ายทอดฝึกฝนจากชาวบ้านและนำมาแสดงให้ชมจนเป็นที่แพร่หลาย

เพลงสงสาง
          ต่อมาเมื่อเก็บเกี่ยวและนวดข้าวด้วยวิธีให้วัวหรือควายย่ำรวงข้าวให้เมล็ดหลุดแล้ว ก็จะสงฟางให้เมล็ดข้าวร่วงหลุดออกมา ตอนนี้ชาวบ้านก็จะมารวมช่วยกันแต่ละบ้าน ขณะทำงานก็เล่นเย้าแหย่กัน ด้วยการร้องโต้ตอบกัน
         ตัวอย่างเพลงสงฟาง "สงเถิดนะแม่สง แม่คิ้วต่อคอระหง เชิญแม่สงฟาง (เอย) สงเถิดนะแม่สง แม่สูงละลิ่วคิ้วก่ง มาช่วยกันสงฟาง (เอย)" มีลูกคู่รับ

สงกรานต์, สงกรานต์ หมายถึง, สงกรานต์ คือ, สงกรานต์ ความหมาย, สงกรานต์ คืออะไร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น